วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


Video Conference คืออะไร


                วิดีโอมีลักษณะการส่งสัญญาณภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง สัญญาณภาพที่ส่งมีลักษณะเป็น เฟรม (หนึ่งเฟรมเท่ากับหนึ่งภาพ) ในวินาทีหนึ่งต้องทำให้ได้ มากกว่า 17 เฟรม จึงจะเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง ระบบโทรทัศน์ในประเทศไทยส่ง 25 เฟรมต่อวินาที ส่วนระบบ NTSC ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ส่ง 30 เฟรมต่อวินาที
             หัวใจในการทำงานของระบบ Video Conference  คือ Codec เป็นคำย่อมาจาก Code และ Decode คือ การเข้ารหัสและการถอดรหัสจากข้อมูลภาพที่มีจำนวนเส้น 625 เส้น 25 เฟรมต่อวินาที (กรณีสัญญาณ PAL ) เมื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วจะต้องเปลี่ยนกลับเป็น Pixel หรือจุดสี  ตามมาตรฐาน CCITT H.261 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญที่กำหนดในเรื่องการเข้ารหัส กำหนดจำนวนเส้นใช้เพียง 288 เส้น แต่ละ เส้นมีความละเอียด 352 pixel นั่นหมายถึงจะมีความละเอียดเท่ากับ 352×288 pixel เรียกฟอร์แมต การแสดงผลนี้ว่า Common Intermediate format และยังยอมให้ใช้ความละเอียดแบบหนึ่งในสี่ คือลดจำนวนเส้นเหลือ 144 เส้น และ pixel หรือ 176 pixel ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของจอภาพ ถ้าใช้จอภาพขนาดเล็ก จำนวน pixel ก็ลดลงไปได้
            ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต การส่งวิดีโอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ย่อมเป็นไปได้ แต่เนื่องจากการส่งแพ็กเก็ตไอพีเป็นแบบดาต้าแกรม ดังนั้นจึงไม่รับรองช่วงระยะเวลาการเดินทางของข้อมูล เทคนิคการใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จึงต้องมีการสร้างบัฟเฟอร์และแก้ปัญหาที่แต่ละแพ็กเก็ตมายังปลายทางไม่พร้อมกัน เรียกปัญหานี้ว่า jitter
รู้จักกับ Video Conference

              การประชุมทางไกล (Videoconferencing) เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือองค์กร
ในการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลา ลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบัน
ช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่าย
อยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน
            การประชุมทางไกล (Videoconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น  คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทางสามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพเสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ   เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์

       Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ ตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง,ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟนส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือสามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง

ลักษณะการใช้งาน

      ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet  เป็นต้นงานประชุมหรืองานการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อุปกรณ์ในระบบ Video Conference มีอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้

1. ชุดอุปกรณ์ Codec ระบบบีบอัดข้อมูลและรับส่ง จัดการระบบการประชุม
2. กล้องจับภาพ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec
3. กล้องจับภาพ (เสริม) เป็นชนิดกล้องวิดีโอ เช่น กล้อง Mini-DV ใช้ในกรณีของการประชุมใหญ่ๆ และพื้นที่ห้องประชุมคับแคบ จำเป็นต้องเพิ่มกล้องช่วยจับภาพ
4.อุปกรณ์นำเสนอต่างๆ เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องนำเสนอวัตถุ 3 มิติ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น
5.จอรับภาพ โดยทั่วไปจะเป็นจอฉากใหญ่ที่รับภาพจาก Projector และอาจเพิ่มได้ตามขนาดห้อง หรือขนาด
ความจุผู้เข้าประชุม ซึ่งเพิ่มเป็นถึง 4 จอ คือ จอภาพสำหรับนำเสนอ, จอผู้พูดฝั่ง Near, จอผู้พูดฝั่ง Far และ
จอบันทึกการประชุม
6.ระบบเครื่องเสียงชุดประชุม ซึ่งมีทั้งเครื่องควบคุม เครื่องขยายเสียง เครื่องผสมสัญญาณเสียง ลำโพงและ
ไมโครโฟนอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะใช้งบประมาณเริ่มต้นเพียง 200,000 – 300,000 บาท (สำหรับระบบ
ขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มากนัก) ขึ้นอยู่กับ ระดับคุณภาพของอุปกรณ์ หลักเบื้องต้นการติดตั้ง

ตัวอย่าง ในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน

          สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาและเลือกเรียนได้ตามอัธยาศัย มีเสรีภาพทางการศึกษา เช่น  การเรียนการสอนผ่านดาวเทียม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสืบค้นข้อมูลให้ด้วยตนเอง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ นอกจากนั้น  ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหารายวิชาได้ในทุกที่ ทุกเวลา  และไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน  



สืบค้นเมื่อวันที่  23  กุมภาพันธ์  2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น