วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


E-Learning

 คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง






          สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวางสามารถควบคุมลำดับชั้นของการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างระบบ การสื่อสารภายในห้องเรียนที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่และระบบการประเมินผลก็เป็นไปอย่าง ตรงไปตรงมาและเหนือสิ่งอื่นใด ระบบการเรียนรู้ E-learning ผู้เรียนจะต้องใช้ความรับผิดชอบสูงจึงจะ ประสบความสำเร็จ ในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจ และ เริ่มต้นพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ความสะดวกและรวดเร็ว ความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

บทบาทการเรียนการสอน E-learning ในประเทศไทย
          สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ IT E-learning เป็นการนำไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้าน การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่นการนำมัลติมีเดียมาเป็นสื่อการสอนของครู/อาจารย์ ให้ผู้เรียน เรียนรู้ค้นคว้าด้วยตัวเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
          ในยุคปัจจุบันเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Stand-alone หรือการเรียนผ่านเครือข่าย เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนค้นข้อมูลความรู้บนเครือข่ายซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อ การเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อผสม (Multimedia) ใช้การนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอม โดยใช้ Authoring tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ ให้กับผู้เรียนซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับ ความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ

การเปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติกับ E-learning
          ชั้นเรียนปกติ
1. ผู้เรียนนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียน
2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตำราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน
4. ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่

          E-learning
1. ใช้ระบบวีดีโอออนดีมานด์เรียนผ่านทางเว็บ
2. ค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเว็บที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย
3. ใช้ระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจำนวน มาก
4. จะเรียนเวลาไหน ที่ใดก็ได้

เวลาของการศึกษาออนไลน์
           การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญเติบโตไปทั่วทุกมุมโลก แนวโน้ม ของเทคโนโลยีดีขึ้น เร็วขึ้นและให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นทำให้เกิดความต้องการที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังพัฒนามาสู่แอพพลิเคชั่น รูปแบบใหม่ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ

อนาคตของระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์
          สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับการศึกษาทางอิเล็ก ทรอนิกส์จะเติบโตและเป็นที่แพร่หลายก็คือ การที่ระบบเครือข่ายมีเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอระบบ การเรียนการสอนที่น่าสนใจเช่น การใช้เสียงส่งสัญญาณวีดีโอตามความต้องการ ( Video on demand) และการประชุมผ่านสัญญาณวีดีโอ ในขณะเดียวกันก็ให้บริการที่เชื่อถือได้

          ประเภทของe-learning แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
          1. Synchronous - ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน เป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง เช่นห้องเรียนที่มีอาจารย์สอนนักศึกษาอยู่แล้วแต่นำไอทีเข้ามาเสริมการสอน
          2 . Asychronous- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเป็นการเรียนด้วยตนเองผู้เรียน เรียนจากที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไป ยังโฮมเพจเพื่อเรียน ทำแบบฝึกหัดและสอบ มีห้องให้สนทนากับเพื่อร่วมชั้นมีเว็บบอร์ดและอีเมล์ให้ถาม คำถามผู้สอน แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
                ข้อดี ของ Synchronous คือ ได้บรรยากาศสด ใช้กับกรณีผู้สอนมีผู้ต้องการเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก และสามารถประเมินจำนวนผู้เรียนได้ง่าย
                 ข้อเสีย ของ Synchronous คือ กำหนดเวลาในการเรียนเองไม่ได้ต้องเรียนตามเวลาที่กำหนดของคน กลุ่มใหญ่
             ข้อดี ของ Asynchronous คือ ผู้เรียน เรียนได้ตามใจชอบ จะเรียนจากที่ไหน เวลาใด ต้องการเรียน อะไรหรือให้ใครเรียนด้วยก็ได้
          ข้อเสีย ของ Asynchronus ไม่ได้บรรยากาศสด การถามด้วย chat หรือเว็บบอร์ดอาจไม่ได้รับการตอบ กลับ E – learning ในสถานศึกษา สามารถใช้ได้กับสถานศึกษา เริ่มจากที่มหาวิทยาลัย อาจารย์ให้นักศึกษา รับการบ้าน ส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนานำเนื้อหาไว้ที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้า มาเรียนจากบ้านได้

          ประโยชน์จาก E-learning
          1 ความรู้ไม่สูญหายไปกับคนเพราะสามารถเก็บไว้ได้
          2 ประหยัดเวลาเดินทางและค่าใช้จ่าย
          3 ผู้เรียนเลือกได้ว่าต้องการเรียนกับอาจารย์ท่านใดหรือหลายท่านก็ได้

http://server.telecomth.com/elearn.php
สืบค้นเมื่อวันที่ 23  กุมภาพันธ์  2556


Web Quest คืออะไร ?


          สำหรับ Web Quest  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ โดยใช้ICT เป็นฐานการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับแหล่งเรียนรู้ต่างๆ บนเครือข่ายอินเทรอืเน็ต ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่ได้จากการเรียนด้วยตนเอง การใช้ web quest ยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหา เป็นวิธีการเรียนที่เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน

องค์ประกอบ Web Quest

          การจะสร้างแหล่งการเรียนรู้ด้วย Web Quest ได้นั้นผู้สอนควรทราบถึงองค์ประกอบหลักในการจัดสภาพแวดล้อมของผู้เรียน โดยต้องคำนึงถึง การออกแบบ การวางแผนการสอน และการพัฒนาบทเรียน(Web Quest) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ชื่อเรื่อง
2. เลือกการออกแบบ
3. เครื่องมือในการพัฒนา
4. การสร้างเครื่องมือการประเมิน
5. การพัฒนากระบวนการ
6. การทดสอบ / เผยแพร่
7. การประเมินผล

ตัวอย่าง ในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน
          Web Quest เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยเรานั้นยังนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย จะมีบ้างก็ในสถาบันอุดมศึกษา ท่านศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.webquest.org


 สืบค้นเมื่อวันที่  23  กุมภาพันธ์  2556




Blog คืออะไร



               Blog มาจากศัพท์คำเต็มว่า WeBlog  คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา นอกจากนี้แล้ว Blog ยังเป็นพื้นที่ให้ Blogger โพสต์ข้อมูล หรือใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ  ข้อแตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์ทั่วไป คือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที

              ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างผู้ให้บริการ Blog เช่น Bloggang, exteen หรือ BlogKa หรือต่างประเทศเช่น Blogger, Wordpress, MySpace
      บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้าน HTML หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน

ตัวอย่าง ในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน


-ใช้ในการนำสื่อการสอนวิชาต่างๆ มาลงไว้ใน Blog เพื่อให้นักเรียนได้สืบค้นหาความรู้เพิ่มเติม

ข้อมูลอ้างอิง
http://th.wikipedia.org

สืบค้นเมื่อ  23 กุมภาพันธ์  2556


E-Book  หมายถึงอะไร 




          e-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์
          คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album
 2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flash Album Deluxe

ตัวอย่าง ในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน
          ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยกำหนดเป็นเอกสาร การสอนในรายวิชาต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนอ่านสะดวก เนื่องจากผู้เรียนสามารถอ่านได้พร้อมๆ กันหลายคน อ่านได้ทุกที่ที่มีการเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ต ถ้าผู้เรียนมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ ก็สามารถดาวน์โหลดเก็บไว้ในเครื่องของตนเอง ทำให้ไม่สิ้นเปลืองกระดาษนอกจากนั้นผู้สอนยังสามารถตรวจสอบได้ว่ามีใครเข้า มาอ่านแล้วบ้าง จึงเท่ากับเป็นการ ติดตามประเมินผลผู้เรียนอีกทางหนึ่ง


สืบค้นเมื่อวันที่   23  กุมภาพันธ์  2556


Video Conference คืออะไร


                วิดีโอมีลักษณะการส่งสัญญาณภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง สัญญาณภาพที่ส่งมีลักษณะเป็น เฟรม (หนึ่งเฟรมเท่ากับหนึ่งภาพ) ในวินาทีหนึ่งต้องทำให้ได้ มากกว่า 17 เฟรม จึงจะเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง ระบบโทรทัศน์ในประเทศไทยส่ง 25 เฟรมต่อวินาที ส่วนระบบ NTSC ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ส่ง 30 เฟรมต่อวินาที
             หัวใจในการทำงานของระบบ Video Conference  คือ Codec เป็นคำย่อมาจาก Code และ Decode คือ การเข้ารหัสและการถอดรหัสจากข้อมูลภาพที่มีจำนวนเส้น 625 เส้น 25 เฟรมต่อวินาที (กรณีสัญญาณ PAL ) เมื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วจะต้องเปลี่ยนกลับเป็น Pixel หรือจุดสี  ตามมาตรฐาน CCITT H.261 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญที่กำหนดในเรื่องการเข้ารหัส กำหนดจำนวนเส้นใช้เพียง 288 เส้น แต่ละ เส้นมีความละเอียด 352 pixel นั่นหมายถึงจะมีความละเอียดเท่ากับ 352×288 pixel เรียกฟอร์แมต การแสดงผลนี้ว่า Common Intermediate format และยังยอมให้ใช้ความละเอียดแบบหนึ่งในสี่ คือลดจำนวนเส้นเหลือ 144 เส้น และ pixel หรือ 176 pixel ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของจอภาพ ถ้าใช้จอภาพขนาดเล็ก จำนวน pixel ก็ลดลงไปได้
            ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต การส่งวิดีโอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ย่อมเป็นไปได้ แต่เนื่องจากการส่งแพ็กเก็ตไอพีเป็นแบบดาต้าแกรม ดังนั้นจึงไม่รับรองช่วงระยะเวลาการเดินทางของข้อมูล เทคนิคการใช้วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จึงต้องมีการสร้างบัฟเฟอร์และแก้ปัญหาที่แต่ละแพ็กเก็ตมายังปลายทางไม่พร้อมกัน เรียกปัญหานี้ว่า jitter
รู้จักกับ Video Conference

              การประชุมทางไกล (Videoconferencing) เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือองค์กร
ในการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลา ลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบัน
ช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่าย
อยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน
            การประชุมทางไกล (Videoconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น  คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทางสามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพเสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ   เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์

       Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ ตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง,ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟนส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือสามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง

ลักษณะการใช้งาน

      ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet  เป็นต้นงานประชุมหรืองานการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อุปกรณ์ในระบบ Video Conference มีอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้

1. ชุดอุปกรณ์ Codec ระบบบีบอัดข้อมูลและรับส่ง จัดการระบบการประชุม
2. กล้องจับภาพ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec
3. กล้องจับภาพ (เสริม) เป็นชนิดกล้องวิดีโอ เช่น กล้อง Mini-DV ใช้ในกรณีของการประชุมใหญ่ๆ และพื้นที่ห้องประชุมคับแคบ จำเป็นต้องเพิ่มกล้องช่วยจับภาพ
4.อุปกรณ์นำเสนอต่างๆ เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องนำเสนอวัตถุ 3 มิติ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น
5.จอรับภาพ โดยทั่วไปจะเป็นจอฉากใหญ่ที่รับภาพจาก Projector และอาจเพิ่มได้ตามขนาดห้อง หรือขนาด
ความจุผู้เข้าประชุม ซึ่งเพิ่มเป็นถึง 4 จอ คือ จอภาพสำหรับนำเสนอ, จอผู้พูดฝั่ง Near, จอผู้พูดฝั่ง Far และ
จอบันทึกการประชุม
6.ระบบเครื่องเสียงชุดประชุม ซึ่งมีทั้งเครื่องควบคุม เครื่องขยายเสียง เครื่องผสมสัญญาณเสียง ลำโพงและ
ไมโครโฟนอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะใช้งบประมาณเริ่มต้นเพียง 200,000 – 300,000 บาท (สำหรับระบบ
ขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มากนัก) ขึ้นอยู่กับ ระดับคุณภาพของอุปกรณ์ หลักเบื้องต้นการติดตั้ง

ตัวอย่าง ในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน

          สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลาและเลือกเรียนได้ตามอัธยาศัย มีเสรีภาพทางการศึกษา เช่น  การเรียนการสอนผ่านดาวเทียม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสืบค้นข้อมูลให้ด้วยตนเอง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ นอกจากนั้น  ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหารายวิชาได้ในทุกที่ ทุกเวลา  และไม่จำกัดจำนวนผู้เรียน  



สืบค้นเมื่อวันที่  23  กุมภาพันธ์  2556

แท็บเล็ต - Tablet

          ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"


แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)

           "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก 

          "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน



ภาพ HP Compaq tablet PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows


แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet

             "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม"  

ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก





ภาพ Apple iPad


             ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC"

               เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel"

             ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง

ตัวอย่าง ในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน
- การใช้ Tablet กับชีวิตของนักเรียนและครอบครัว 
- การใช้ Tablet เพื่อฝึกทักษะในการฟัง พูด อ่าน และเขียน
-การใช้ Tablet ในการนำเสนอผลงาน
- การใช้ Tablet ในรูปแบบของ Social Network

           ** สรุปความหมายของแท็บเล็ตสั้นๆ ก็คือ คอมพิวเตอร์พกพาหรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางที่มีหน้าจอแบบสัมผัสในการใช้งานเป็นหลัก


 สืบค้นเมื่อวันที่  23 กุมภาพันธ์  2556
เรียบเรียงโดย isack แหล่งข้อมูลจาก






Social Media คืออะไร

 

           คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น

           ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเองพื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ


Google Group – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking





Wikipedia – เว็บไซต์ในรูปแบบข้อมูลอ้างอิง


MySpace – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking







Facebook -เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking







MouthShut – เว็บไซต์ในรูปแบบ Product Reviews






Yelp – เว็บไซต์ในรูปแบบ Product Reviews






Youmeo – เว็บที่รวม Social Network






Last.fm – เว็บเพลงส่วนตัว Personal Music







YouTube – เว็บไซต์ Social Networking และ แชร์วิดีโอ







Avatars United  – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking






Second Life – เว็บไซต์ในรูปแบบโลกเสมือนจริง Virtual Reality






ตัวอย่าง ในการนำมาใช้ในการเรียนการสอน

-ใช้ในการสืบค้น หาข้อมูลทางทางการศึกษาเพิ่มเติมผ่านทาง Wikipedia ได้
-ใช้ดูสื่อการเรียนการสอน การทดลองต่างๆ ผ่านทาง YouTube ได้
-ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนผ่านทาง Facebook ได้




สืบค้นเมื่อ  ว้นที่  17  กุมภาพันธ์  2556